กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี 62

2020-02-03 0

เวลา 09.03 น. วันที่ 30 ม.ค.2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ที่ปรึกษาโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เฝ้าทูลละอองพระบาท ในโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ในโครงการความร่วมมือไทย-ลาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โอกาสนี้ คณะวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรมฯ ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาทด้วย
เวลา 17.22 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เสด็จออกแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2562 เฝ้าทูลละอองพระบาท รับพระราชทานรางวัล สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์ หัวหน้าภาควิชาโรคติดเชื้อ อณูไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก และหัวหน้าหน่วยไวรัสที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งเยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งมีผลงานโดดเด่นคือ การศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไวรัสตับอักเสบซี นำไปสู่องค์ความรู้ในการพัฒนายาต้านไวรัสตับอักเสบซีรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า ดีเอเอ ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะ และปลอดภัย สามารถรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง ให้หายได้ถึงร้อยละ 95 อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวมีราคาสูง แต่ด้วยเป้าหมายที่จะลดการแพร่ระบาด จึงได้มีความช่วยเหลือสำหรับประเทศยากจน ทำให้มีประชากรเข้าถึงการรักษาด้วยยาดีเอเอ เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านคน ถึง 1.5 ล้านคน ในช่วงปี พ.ศ.2558-2559 สำหรับประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ได้ต่อรองราคายาลงกว่าร้อยละ 70 และบรรจุยานี้ใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้คนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพและประกันสังคมใช้สิทธิการรักษาได้ ศาสตราจารย์บาร์เทนชลากเกอร์ ยังมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำมากกว่า 300 เรื่อง และได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ส่วนสาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์เดวิด เมบี ศาสตราจารย์สาขาโรคติดต่อ ภาควิชาวิจัยคลินิก วิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคริดสีดวงตา มากว่า 30 ปี ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามิเดีย ทราโคมาติส ทำให้ตาบอดหรือเกิดความพิการทางสายตาได้มากถึงปีละ 2 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีสุขอนามัยไม่ดี นับแต่ปีพุทธศักราช 2523 ศาสตราจารย์เมบีและคณะ ได้ศึกษาในพื้นที่ของประเทศแกมเบียและแทนซาเนีย และค้นพบว่าการตาบอดจากโรคริดสีดวงตาเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ในปีพุทธศักราช 2536 แสดงว่าการให้ยาเอซิโทรมัยซิน 1 ครั้ง สามารถรักษาโรคริดสีดวงตาอย่างได้ผล จึงมีการศึกษาแบบพหุสถาบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าการให้ยาในชุมชนแบบประจำปี สามารถลดการแพร่กระจายของโรคได้ นำไปสู่นโยบายขององค์การอนามัยโลก ที่จะกำจัดโรคริดสีดวงตาให้หมดไปด้วยโปรแกรมเซฟ ประกอบด้วย การควบคุมโรคโดยการผ่าตัด, การรักษาแบบครอบคลุมด้วยยาปฏิชีวนะ, ส่งเสริมการล้างหน้า และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ขณะนี้มี 13

Free Traffic Exchange

Videos similaires